สวัสดิการและบริการการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดลมีสวัสดิการให้แก่นักศึกษาในด้านต่างๆ อาทิ สิทธิในการรับบริการรักษาพยาบาล สิทธิในการรับบริการด้านทันตกรรม สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์ การทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน บริการให้คำปรึกษาโครงการ Hotline มหิดล และบริการหอพักนักศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลทุกคนสามารถรับสวัสดิการและบริการดังกล่าวได้ตามรายละเอียดดังนี้
การบริการด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัย
นักศึกษาที่ได้ชำระค่าบริการสุขภาพประจำปี จะมีบัตรสุขภาพนักศึกษา (กน.001) และ บัตรสุขภาพช่องปาก (กน.002) อยู่ ณ หน่วยสุขภาพที่ใกล้คณะที่ศึกษาอยู่ ได้แก่ นักศึกษาปีที่ ๑ ทุกคณะ/ชั้นปี และหลักสูตร ๔ ปี ที่ศึกษาอยู่ศาลายาสามารถติดต่อรับได้ที่หน่วยสุขภาพศาลายา (MU Health) ส่วนนักศึกษาที่ต้องย้ายไปเรียนคณะปลายทาง บัตรสุขภาพจะอยู่ ณ หน่วยสุขภาพใกล้คณะที่ศึกษาอยู่
นักศึกษาจะเข้ารับการรักษาพยาบาลได้จากหน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา ๗ หน่วย กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินนอกเวลาราชการ ปฏิบัติดังนี้
สถานที่ตั้ง | เวลาที่ปฏิบัติงานในเวลาราชการ | กรณีฉุกเฉินนอกเวลาราชการปฏิบัติดังนี้ |
๑. หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาศูนย์ศาลายา | ||
บริเวณชั้นล่างบ้านลีลาวดี (หอ ๑๐) โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๙๗๓๓ |
แพทย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. และ ๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น. พยาบาล เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. |
ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำหอพัก |
๒. หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล |
||
ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก โอ.พี.ดี) ชั้น ๔ ห้อง ๔๓๖ โทรศัพท์ ๐๒-๔๑๙-๗๓๘๙ หรือ ๐๒-๔๑๙-๗๐๐๐ ต่อ ๗๓๘๙ |
แพทย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. พยาบาล เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. |
ติดต่อแพทย์เวร |
๓. หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
||
ตึกผู้ป่วยทั่วไปและตึกฉุกเฉิน(หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาและบุคลากร) โทรศัพท์ ๐๒-๒๐๑-๑๖๙๖, ๐๒-๓๕๔-๗๓๐๘ ต่อ ๑๒๐๐, ๑๖๙๖ |
แพทย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. พยาบาล เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. |
ติดต่อแพทย์เวร |
๔. หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน |
||
แผนกผู้ป่วยนอกตึกเวชกรรมเมืองร้อน โอ.พี.ดี. โทรศัพท์ ๐๒-๒๔๖-๙๐๐๑ ต่อ ๑๔๑๔, ๑๔๑๕ |
แพทย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. พยาบาล เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. |
ติดต่อแพทย์เวร |
๕. หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ |
||
อาคาร ๕ ชั้น ๒ โทรศัพท์ ๐๒-๒๔๖-๑๒๒๕-๓๑ ต่อ ๕๒๑๐ |
แพทย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. |
ติดต่อแพทย์เวร |
๖. หน่วยบริการสุภาพนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ |
||
ตึกชีววิทยาใหม่ ชั้น ๑ โทรศัพท์ ๐๒-๒๐๑-๕๐๐๐ ต่อ ๕๒๐๓ |
แพทย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ประจำหน่วย เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. |
สามารถเข้ารับการรักษาได้จาก โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ทั้ง ๓ แห่ง โดยจะต้องแสดงบัตรประจำตัวนักศึกษา |
๗. หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ |
||
ชั้น ๑ ห้อง ๑๑๘ โทรศัพท์ ๐๒-๖๔๔-๘๖๗๗-๙๑ ต่อ ๑๑๐๓ และ ๐๒-๒๔๗-๔๖๙๖ |
แพทย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. พยาบาล เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. |
สามารถเข้ารับการรักษาได้จาก โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ทั้ง ๓ แห่ง โดยจะต้องแสดงบัตรประจำตัวนักศึกษา |
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา |
||
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ๐๒-๘๔๙-๖๖๐๐ |
วันจันทร์ –วันศุกร์ เปิดถึง ๒๐.๐๐ น. ปิดเสาร์-อาทิตย์ |
สามารถเข้ารับการรักษาได้ โดยจะต้องแสดงบัตรประจำตัวนักศึกษาและบัตรประชาชนทุกครั้ง |
การเข้ารับบริการรักษาพยาบาล
๑. การเข้ารับการรักษาพยาบาล
ให้นักศึกษาติดต่อที่หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาที่ใกล้คณะที่ศึกษาอยู่ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและทำการรักษาทันที หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เพื่อพบแพทย์เฉพาะทางต่อไป
๒. การใช้ยากรณีที่โรงพยาบาลไม่มียาจำหน่าย
นักศึกษาจะต้องซื้อยาเอง โดยให้นำใบสั่งยาจากโรงพยาบาลที่ยืนยันว่าไม่มียา ไปซื้อยาจากร้านค้าภายนอก จากนั้นให้นำใบเสร็จรับเงินจากร้านขายยากลับไปยังโรงพยาบาลตามใบสั่งยาเพื่อให้เจ้าหน้าที่เภสัชกรของโรงพยาบาลรับรองยาตามใบสั่งยาและนำใบเสร็จรับเงินและใบสั่งยาเบิกคืนได้ที่กองกิจการนักศึกษา
๓. การรักษาในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลตามอัตราที่โรงพยาบาลกำหนด ยกเว้น ค่าห้องและอาหารรวมกัน เบิกได้ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดลหากเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลเอกชนจะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
๔. การเจ็บป่วยฉุกเฉินนอกเวลาราชการ
ให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก โดยจะต้องแสดงบัตรประจำตัวนักศึกษาคู่กับบัตรประจำตัวประชาชน กรณีที่อยู่ไกลโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย สามารถเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลของรัฐอื่นได้และให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
สิทธิการรับบริการด้านทันตกรรม
นักศึกษาสามารถรับบริการการรักษาด้านทันตกรรม เช่น การอุดฟัน ถอนฟัน ยกเว้นการบริการเพื่อความสวยงามไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ เช่น การรักษาเพื่อดัดฟัน การใส่ฟัน เป็นต้น โดยนักศึกษาสามารถเข้ารับบริการได้ที่หน่วยทันตกรรมที่ตนมีสิทธิใช้บริการเท่านั้น ถ้าไปรักษานอกหน่วยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง โดยนักศึกษาต้องไปรับบัตรตรวจสุขภาพช่องปาก (กน 002) ณ หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาที่ใกล้คณะที่ศึกษาอยู่ และจะต้องนำบัตรสุขภาพนักศึกษาคืนหน่วยสุขภาพทุกครั้งหลังใช้บริการเรียบร้อย
๒.๑ หน่วยทันตกรรม ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โทร. ๐๒-๘๔๙-๖๖๐๐ ต่อ ๒๐๐๔-๕ ปฏิบัติงานวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา ๗.๐๐-๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันพุธ ปฏิบัติงานเวลา ๗.๐๐-๑๒.๐๐ น.
๒.๒ หน่วยทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ตั้ง ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น ๖ โรงพยาบาลศิริราช โทร. ๐๒-๔๑๙-๗๔๑๕ ปฏิบัติงานวันจันทร์-วันพฤหัสบดี เวลา ๑๒.๓๐-๑๔.๐๐ น. การรับบริการทันตกรรมในครั้งแรก ขอให้โทรศัพท์ติดต่อล่วงหน้า และนำบัตรตรวจสุขภาพช่องปากไปด้วยทุกครั้ง และเข้ารับบริการด้านทันตกรรมให้รับบริการเฉพาะวัน-เวลาที่หน่วยทันตกรรมกำหนดเท่านั้น หากคลินิกพิเศษไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายคืนได้ หมายเหตุ - การใช้บริการทันตกรรมที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ต้องใช้คลินิกทันตกรรมปกติเท่านั้น ห้ามใช้คลินิกพิเศษ
การเข้ารับบริการรักษาพยาบาลตามระบบการดูแลสุขภาพนักศึกษาในวิทยาเขตศาลายา
รายการและอัตราการรักษาทางทันตกรรมจากเงินบริการสุขภาพนักศึกษาแนบท้ายประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับบริการสุขภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔)
รหัส กรมบัญชีกลาง |
รายการ |
หน่วย |
ราคา |
หมายเหตุ |
41201 41201 41202 45999 |
1. X – Ray 1.1. X – Ray (OPG) 1.2. X – Ray (Cephalometric) 1.3. X – Ray (PA/BW) 1.4. X – Ray (Occlusal film) |
ฟิล์ม ฟิล์ม ฟิล์ม ฟิล์ม |
300 250 80 80 |
การ X – Ray เพื่อการจัดฟันไม่สามารถเบิกได้ |
64101 64102 64140 |
2. ขูดหินปูน 2.1. ขูดหินน้ำลายทั้งปาก 2.2. Root planning/Curettage 2.3. รักษาอาการเสียวฟันโดยการทายา |
ทั้งปาก Quardant ซี่ |
280 340 170 |
|
67101 67201 67202 67203 67204 67210 67210 67211 67212 67213 67220 67221 |
3. อุดฟัน 3.1. อุดฟันชั่วคราว/Pulp capping 3.2. อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgam –ด้านเดียว 3.3. อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgam – 2 ด้าน 3.4. อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgam – 3 ด้าน 3.5. อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgam – ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไปหรือ Amalgam overlay 3.6. อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite, GI, Flowable composite) – ด้านเดียว 3.7. Preventive resin restoration 3.8. อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite, GI, Flowable composite) – 2 ด้าน 3.9. อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite, GI, Flowable composite) – 3 ด้าน 3.10. อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite, GI, Flowable composite) – ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไปหรือ Composite onlay (direct) บูรณะฟันโดยใช้แถบเหล็กไร้สนิม (Band)–ฟันกรามน้อย บูรณะฟันโดยใช้แถบเหล็กไร้สนิม (Band) –ฟันกราม |
ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ ซี่ |
200 270 370 370 370 300 300 430 430 430 300 390 |
กรณีฟันร้าว |
หมายเหตุ
๑. รายการและอัตราข้างต้น สำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้ชำระค่าบริการสุขภานักศึกษา
๒. กรณีต้องการรักษารายการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนดข้างต้น ให้ใช้สิทธิของแต่ละบุคคล
๓. การใช้สิทธิของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้รักษา ณ หน่วยทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราชหรือโรงพยาบาลรามาธิบดี ตามที่นักศึกษาลงทะเบียนสิทธิ
๔. กรณีมีค่าใช้จ่ายส่วนเกิน นักศึกษาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกินเอง
๓. สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์
ในกรณีที่นักศึกษาเสียชีวิต หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จนไม่สามารถศึกษาต่อไปได้ นักศึกษาจะได้รับเงินสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัย ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยนักศึกษาหรือทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายของนักศึกษายื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์ผ่านกองกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย (นักศึกษาสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุมาลัย พันธ์วิชัย หรือ คุณอังคณา ทองสุกโชติ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๘๔๙-๖๑๐๒) ภายในระยะเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ (ภายในระยะเวลา ๑ ปี คือ นับจากวันที่นักศึกษาเสียชีวิต หรือนับจากวันที่นักศึกษาสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจนไม่สามารถที่จะทำการศึกษาต่อไปได้) การเข้ารับบริการสุขภาพ และการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลทันตกรรม และเงินสงเคราะห์นักศึกษา อยู่ภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล หรือสอบถามรายละเอียดที่กองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้น ๓ โทรศัพท์ ๐๒-๘๔๙-๖๑๐๒-๓
๔. การทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน
นักศึกษาสามารถทำงานพิเศษในช่วงปิดภาคเรียน ทั้งในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาคนอกมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่งานแนะแนวและจัดหางาน กองกิจการนักศึกษา ชั้น ๓ สำนักงานอธิการบดี ศาลายา นักศึกษาที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐๒-๘๔๙-๖๑๐๓-๔ (ในเวลาราชการ)
๕. การบริการให้คำปรึกษา
โครงการ Hotline มหิดล นักศึกษาสามารถรับการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ เช่น การเรียน การปรับตัว ปัญหาส่วนตัวได้ที่ ๐๒-๘๔๙-๖๑๐๒, ๐๒-๘๐๐-๒๙๕๙, ๐๒-๔๔๑-๙๕๘๓ และ ๐๒-๔๔๑-๑๓๖๑ (ในวันและเวลาราชการ) หมายเลขโทรศัพท์ Hotline ๒๔ ชั่วโมง ได้ที่ ๐๒-๔๔๑-๑๓๖๑
๖. การบริการหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ "บ้านมหิดล" เปิดบริการสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ทุกสาขาวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และใช้ชีวิตร่วมกันในหอพัก แต่มหาวิทยาลัยมิได้บังคับให้นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ทุกคน เข้าพักอาศัยในหอพักนักศึกษา นักศึกษาสามารถเลือกที่จะไม่พักในหอพักของมหาวิทยาลัยได้ตามความสมัครใจ การจัดให้นักศึกษาเข้าพัก มี ๒ แบบ คือ แบบพักห้องละ ๔ คน ได้แก่ บ้านชัยพฤกษ์ และบ้านกันภัย เป็นลักษณะเตียง ๒ ชั้น บ้านศรีตรัง และบ้านลีลาวดี เป็นลักษณะเตียงชั้นเดียว และแบบพักห้องละ ๒ คน (เฉพาะนักศึกษาชาย) ได้แก่ บ้านอินทนิล เป็นเตียงชั้นเดียว สำหรับที่นอน ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือส่วนตัวพร้อมเก้าอี้ มีบริการให้คนละ ๑ ชุด ห้องน้ำรวมอยู่ภายนอกห้อง นักศึกษาที่มีความประสงค์จะเข้าพักในหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.muhome.mahidol.ac.th/muhomemainpage/
๗. การบริการศูนย์ให้บริการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Emergency Call) ๒๔ ชั่วโมง
นักศึกษาสามารถรับบริการให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย บริการแบบ One-stop Service ในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ไฟไหม้ น้ำไม่ไหล ไฟฟ้าดับ รถเสีย ของหาย พบของ และบริการรับส่งกลางดึก (Escort) ในเวลาตั้งแต่ ๒๐.๐๐-๕.๐๐ น. ผู้ที่ต้องการแจ้งเหตุสามารถติดต่อศูนย์ฯ ได้โดยการตรงหรือโทรเข้ามาที่หมายเลข Salaya Call Center ๐๒-๔๔๑-๔๔๐๐ หรือ i+๒๑ กด ๖ หรือใช้บริการตู้โทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อความสะดวกในการติดต่อศูนย์